วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ขาตั้งกล้อง

ขาตั้งกล้อง
ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จำเป็นมากๆสำหรับการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เพราะการถ่ายภาพบางโหมดในการเลือกใช้ถ่ายจำเป็นต้องใช้ความนิ่งในการรอเวลาชัตเตอร์กล้องจับภาพ หรือแม้แต่ภาพเคลื่อนไหว การที่จะได้วิดีโอที่ดูแล้วนุ่มสมูสเป็นหน้าที่ของขาตั้งกล้อง มือคนเราที่ว่านิ่งแล้ว สำหรับงานบางงานนั้นก็ยังนิ่งไม่พอ จึงจำเป็นต้องอาศัยขาตั้งกล้องมาเป็นตัวช่วยนั่นเอง ว่าไปแล้วขาตั้งกล้องนั้นก็มีหลากหลายประเภท งั้นไปดูกันเลยครับ



1.ขาตั้งกล้อง tripod
การเลือกซื้อขาตั้งกล้องชนิดนี้ ควรเลือกความสูงของขาตั้งกล้องให้เหมาะสมกับความสูงของตัวผู้ใช้ ซึ่งขาตั้งกล้องสามารถยืดหดได้ เมื่อยืดขาสุดแล้วประกอบหัวและกล้องเข้าไป คุณสามารถยืนเล็งช่องภาพได้สบาย ความมั่นคงของขานั้นจะต้องรับน้ำหนักได้เยอะ มีความแข็งแรงทนทาน




2.ขาตั้งกล้องแบบขาเดียว monopod
การเลือกซื้อขาตั้งกล้องประเภทนี้ก็เหมือนๆกับขาตั้ง tri pod หลายประการ เพราะฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงขนาดของขาตั้งกล้องและการรองรับน้ำหนัก และความสะดวกสบายในการพกพาและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ซึ่งเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมได้เลย





วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

โหมดถ่ายภาพต่างๆ

โหมด Auto
เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ  หมายความว่า กล้องจะตั้งค่าพารามิเตอร์ให้ทุกค่า เหมาะสำหรับใช้ถ่ายภาพเมื่อคิดอะไรไม่ออก โหมด Auto ไม่ใช่โหมดที่ถ่ายภาพได้สวยที่สุด แต่เป็นโหมดที่ถ่ายภาพง่าย และมีโอกาสถ่ายภาพเสียน้อย (ได้ภาพ แต่สวยไม่สวยอีกเรื่องหนึ่ง) ซึ่งโหมดนี้เหมาะช่างภาพมือสมัครเล่น ที่เพิ่งเล่นกล้อง เพราะเป็นโหมดที่ไม่ต้องคิดอะไรมากในการถ่ายแค่เลือกโพซิชั่นให้สวยงาม

โหมดถ่ายภาพ P (Program)
โหมด P หรือโหมด Program เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติคล้ายกับโหมด Auto แต่เราสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ทุกค่าได้ ยกเว้นค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่กล้องจะปรับให้ ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆ อย่าง ISO, แฟลซ, ชดเชยแสง, WB (สมดุลแสงขาวหรือไวท์บาลานซ์), รูปแบบการโฟกัสและการวัดแสง ค่าเหล่านี้เราสามารถเลือกปรับค่าได้ตามใจ สรุปว่าโหมด P เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับการควบคุมค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ของเรา ว่าจะปรับค่าให้ดีที่สุด ในสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร
สรุปว่าโหมด P เหมาะกับการถ่ายภาพทุกสถานการณ์ แต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องคอยควบคุมค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ให้ดี เช่น ถ้าถ่ายออกมาแล้วมืดเกินไป (เพราะถ่ายย้อนแสง) ก็ให้แก้ไขด้วยการปรับชดเชยแสงเป็นบวก Ev + แล้วลองถ่ายใหม่ จนกว่าจะได้ภาพที่พอใจครับ ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่ได้สว่างเกินไป (อาจเกิดจากระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุด และไปวัดที่พื้นทึบ หรือมืด กล้องจะเข้าใจว่าแสงน้อย กล้องจะปรับค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้สว่างขึ้น กลายเป็นสว่างเกินไป) กรณีนี้ก็ให้ปรับชดเชยแสงเป็นลบ หรือ Ev - จากนั้นลองถ่ายจนได้ค่าที่พอใจครับ


โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)
โหมดนี้เป็นโหมดถ่ายภาพที่หลายคนชอบใช้ โหมด A หรือ Av (ในกล้องบางรุ่น) ย่อมาจาก Aperture Priority ซึ่งเป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติที่ให้ผู้ใช้งานปรับเลือกค่ารูรับแสง (A หรือ Aperture) ด้วยตัวเอง ส่วนพารามิเตอร์อื่นๆ กล้องจะเลือกให้อัตโนมัติโหมดนี้ให้ความสำคัญกับรูรับแสง ในกรณีที่เราต้องการควบคุมรูรับแสงด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระยะ "ชัดลึก ชัดตื้น" (DOF หรือ depth of field) ดังนั้นโหมด A จึงเหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการควบคุมระยะชัดลึกของภาพนั่นเองครับ
โหมดถ่ายภาพ S (Shutter Priority)
 โหมด S เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ได้เป็นอย่างดี.. บอกไว้ก่อนว่าโหมด S ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของแบบในภาพได้ทุกสภาพแสง แต่ความหมายของ S คือการที่เราสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดผลของภาพที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว โหมดถ่ายภาพ S เป็นโหมดที่เราต้องเป็นคนกำหนดความเร็วชัตเตอร์ (รวมถึงพารามิเตอร์อื่นที่จำเป็น) ส่วนค่ารูรับแสงกล้องจะปรับให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในขณะนั้นเป็นหลัก